บทสรุป
รูปแบบการสอน
รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching Learning Model) หรือระบบการสอน คือ โครงสร้างองค์ประกอบการดำเนินการสอน
ที่ได้รับการจัดเป็นระบบสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฏี หลักการเรียนรู้
หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น
ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าวมักประกอบด้วยทฤษฏีหลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ
และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะรูปแบบนั้นกำหนด
ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือ แบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น ๆ
ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กันแพร่หลายมีจำนวนมาก
แต่ละรูปแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นด้วย ขั้นตอน วิธีการ
องค์ประกอบที่แตกต่างกันไป บางรูปแบบใช้ได้ในวงกว้าง บางรูปแบบจะใช้เจาะจงในวงแคบเฉพาะส่วน
ผู้ใช้ควรศึกษาพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งมีรูปแบบการสอน
ดังต่อไปนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธพิสัย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านกระบวนการคิด
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2544 เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้แก่การคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนสำคัญที่สุดทำอย่างไรจะทำให้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้สูงสุด
ตามศักยภาพของแต่ละคน จึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน เนื้อหา เวลา
สื่อและปัจจัยอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้วางแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมากที่สุด
จุดหมายของ หลักสูตรต้องการพัฒนานักเรียนอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ
ผ่านโครงสร้างกลุ่ม สาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
ซึ่งสอดคล้องกับปัญญา 8 ด้านของมนุษย์ในแต่ละกลุ่มสาระ
นักเรียนควรจะได้รับการพัฒนา ความรู้ ทักษะ จิตพิสัย ทั้งสามด้าน
จุดเน้นมากน้อยตามธรรมชาติ วิชาและวัยของเด็ก
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ต้องการให้นักเรียนเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์มีทักษะในการเคลื่อนไหว
ออกกำลังกาย และเห็นคุณค่าต่อการป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพจะเห็นว่านักเรียนต้องได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา
ทักษะและจิตพิสัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น