วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(Child Center)
1.วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving
Method)
จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดวิธีสอนแก้ปัญหานี้ขึ้น
โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝีกฝนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในชีวิตประจำ
วันได้อย่างเป็นกระบวนการ สมเหตุสมผลและมีหลักเกณฑ์
อันเป็นการเตรียมเด็กหนุ่มสาวให้สามารถปรับปรุงตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและ
ความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ โดยนำความรู้และประสบการณ์จากหลายๆสาขาวิชามาประกอบกันในการแก้ปัญหานั้นๆ
ขั้นตอนการสอน
ขั้นที่1 กำหนดปัญหา
เป็นขั้นที่ครู นักเรียน หรือครูกับนักเรียนกำหนดปัญหาขึ้นโดยวิธีการต่างๆ เช่น
ถามนำเข้สู่บทเรียน เล่าเรื่องหรือประสบการณ์ แล้ตั้งปัญหา
ใช้สถานการณ์ในชุมชนมาตั้งปัญหา จัดสถานการณในห้องเรียนกระตุ้นให้เกิดปัญหาเป็นต้น
ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ปัญหาเมื่อได้ปัญหาจากขั้นที่
1 มาแล้ว ครูจะนำนักเรียนให้คิดพิจารณาปัญหา จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบในการแก้ปัญหาแต่ละข้อการสอนขั้นนี้จะจบลงด้วยการเสนอแนะแหล่งความรู้ที่แต่ละกลุ่มควรไปค้นคว้าหา
คำตอบเพื่อแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นที่นักเรียนคาดเดาว่าปัญหานั้นๆมีสาเหตุมาจากอะไร
หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขโดยวิธีใด หรือปัญหานั้นควรมีคำตอบว่าอย่างไร
เป็นต้น
ขั้นที่ 4 เก็บรวบรวมข้อมูล
นักเรียนแต่ละกลุ่มจะไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาด้วยการทำกิจกรรม
ต่างตามที่ว่างแผนไว้ในขั้นที่ 2 เช่น อ่านหนังสือ สัมภาษณ์ผู้รู้
เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ทำแผนภูมิ ทำแผนผัง ทำสมุดภาพ ชมภาพยนต์หรือวิดีทัศน์
ทดลองปฏิบัติ เป็นต้น ขณะทำกิจกรรมครูจะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล
เป็นขั้นตอนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำข้อมูลที่ไปค้นคว้าหรือทดลองมาวิเคราะห์และส้ง
เคราห์ หาคำตอบที่ต้องการ หรือพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น ถูกต้องหรือไม่
คำตอบที่ถูกคืออะไร
ขั้นที่ 6 สรุปผล
เป็นขั้นที่นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาหาปัญหานี้
วิธีสอนแบบแก้ปัญหานอกจากจะช่วยฝึกให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์และรู้จักคิด
อย่างมีเหตุผลแล้ว ยังช่วยปลูกฝังนักเรียนมีนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตน
และมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตยอีกด้วย
2. วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจได้ด้วยตนเอง
โดยเน้นกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
เป็นอีกวิธีสอนหนึ่งที่จะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ให้ผู้เรียนได้แสดงออก
ทั้งทางด้านความคิดและท่าทางการแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ได้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน
3. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
และทำความเข้าใจถึงปัญหา
เป็นขั้นในการกระตุ้น
หรือเร้าความสนใจให้นักเรียนเกิดปัญหา
อยากรู้อยากเห็นและอยากทำกิจกรรมในสิ่งที่เรียน หน้าที่ของครูคือการแนะแนนำให้นักเรียนเห็นปัญหา
จัดสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหาโดยมีนวัตกรรมต่างๆ เป็นเครื่องช่วย
2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นนี้ครูและนักเรียนช่วยกันแยกแยะปัญหา
กำหนดขอบข่ายการแก้ปัญหาและจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการแก้ปัญหา ดังนี้
2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหา
2.2 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบและทำงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3 แนะนำให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มรู้จักแหล่งความรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นการเรียนรู้ของนักเรียนเองโดยการกระทำจริงๆ
โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้
ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ในขั้นนี้ครูมีหน้าที่ ดังนี้
3.1 แนะนำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าใจปัญหา
รู้จักวิธีแก้ปัญหา และรู้จักแหล่ง ความรู้สำหรับแก้ปัญหา
3.2 แนะนำให้นักเรียนทำงานอย่างมีหลักการ
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล
เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ
จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดง ผลงานของตน
5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปและประเมินผลการปฏิบัติการแก้ปัญหาดังกล่าวว่ามีผลดีผล
เสียอย่างไร แล้วบันทึกเรียบเรียงไว้เป็นหลักฐาน
ข้อดีของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม
2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ
4. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดหาเหตุผลและมีการคิดอย่างเป็นระบบ
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1. ปัญหาที่นำมาใช้ต้องเป็นปัญหาที่เกิดจากนักเรียน
ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ครูกำหนด
2. ครูต้องยึดมั่นในบทบาทของตนในการทำหน้าที่ให้แนวทางในการคิดแก้ปัญหา
ไม่ใช่เป็นผู้ชี้นำความคิดของนักเรียน
4. วิธีสอนตามขั้นที่4 ของอริยสัจ (Buddist’s Method)
การสอนแบบอริยสัจสี่
หมายถึง การสอนที่พระพุทธเจ้าทรงคิดขึ้น
เพื่อใช้เป็นคำสอนซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
และมีขั้นตอนคล้ายคลึงกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่
1. ทุกข์ คือ การเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นปัญญา
ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ การพิจารณาปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.
สมุทัย คือ การหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือสาเหตุแห่งปัญหา
สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ถ้ากำจัดตัณหาได้ ทุกข์ก็คงจะหมดไป
เมื่อรู้ถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว ก็ลองกำหนดหลักการในการแก้ไขปัญหา เช่น
บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ทำสมาธิ เป็นต้น ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
“การตั้งสมมติฐาน”
3. นิโรธ คือ การดับทุกข์
โดยดับที่สาเหตุแห่งทุกข์ ในขั้นนี้เป็นการลองทำตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ เช่น
บำเพ็ญทุกรกิริยา จำผลการปฏิบัติไว้พิจารณา เมื่อเห็นว่า ทำทุกรกิริยา
ไม่อาจพ้นทุกข์ได้ ก็ทำอย่างอื่นต่อไปได้อีก ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทาศาสตร์ที่ว่า “การรวบรวมข้อมูล”
4. มรรค คือ ทางแห่งดับทุกข์
เป็นวิถีทางในการแก้ไขปัญหาจาการทดลองแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ตามสมมุติฐานแล้ว
เช่น พบว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือการอดอาหารนั้นไม่ได้เป็นผลดับทุกข์
แต่การปฏิบัติตามแนวทางของมรรค 8 หรือมรรคมีองค์แปดนั้นเป็นการปฏิบัติให้พ้นทุกข์
คือ การเวียนว่ายตายเกิด สำหรับมรรค 8 นั้น ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว
จะเห็นได้ว่า ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่ มีส่วนตรงกันกับขั้นต่างๆ
ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือต่างก็เป็นวิธีหาหนทางในการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลนั่นเอง
5. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (The Laboratory Method)
วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
เป็นวิธีสอนที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง วิธีสอนแบบปฏิบัติหรือการทดลองแตกต่างจากวิธีสอนแบบสาธิต
คือ วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองผู้เรียนเป็นผู้กระทำเพื่อพิสูจน์หรือค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
ส่วนวิธีสอนแบบสาธิตนั้นครูหรือนักเรียนเป็นผู้สาธิตกระบวนการและผลที่ได้รับจากการสาธิต
เมื่อจบการสาธิตแล้วผู้เรียนต้องทำตามกระบวนการและวิธีการสาธิตนั้น
6. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
เป็นการสอนโดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
การอภิปรายกระทำระหว่างครูกับนักเรียน รือระหว่างนักเรียนด้วยกัน
โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน วิธีการสอนแบบอภิปรายจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น
พูดเป็น และสร้างความเป็นประชาธิปไตย
7. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
เป็นวิธีสอนที่ยึดหลักการย่อส่วนทั้งขนาดของชั้นเรียน
ระยะเวลาที่สอนและชนิดของทักษะ วิธีสอนแบบจุลภาคใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ในการฝึกทักษะแต่ละชนิด
เมื่อสอนเสร็จมีการวิเคราะห์และประเมินผลการสอนจากภาพและเสียงบันทึกไว้ใน Video Tape และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาการสอน การสอนแบบจุลภาคจึงเป็นการฝึกทักษะการสอนในสถานการณ์ย่อส่วนจากสถานการณ์จริงๆ
เพื่อง่ายแก่การฝึกภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ฝึกได้มีโอกาสตรวจสอบและปรังปรุงการสอนของตน
8.วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)
เป็นการสอนตามแนวคิดของ William
H. Kilpatrick วิธีสอนนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้กำหนดโครงการและดำเนินงานให้เสร็จตามนั้น
โครงการที่กำหนดขึ้นอาจเป็นโครงการรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
ขั้นตอนของการจัดการโครงการ มีลำดับดังนี้
1.ขั้นตั้งปัญหา
2.ขั้นกำหนดโครงการ
3.ขั้นดำเนินงานหรือลงมือปฏิบัติตามโครงการ
4.ขั้นประเมินผลโครงการ
|
9.วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน
โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย”
นักเรียนอาจเรียนหลายๆวิชาพร้อมๆกันไปตามความต้องการและความสามารถของนักเรียน
10. วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
เป็นกระบวนการเรียนที่บูรณาการระหว่างการใช้สื่อประสมกับกระบวนการกลุ่ม
เน้นกิจกรรมเพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนเอง
ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด
โดยอาศัยสื่อการสอนแบบประสมและหลักการของกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เข้าช่วยในการเรียนการสอน
อีกทั้งยังเป็นการเรียนตามเอกัตภาพอีกด้วยส่วนประกอบของศูนย์การเรียนคู่มือครู
แบบฝึกหัดปฏิบัติสำหรับผู้เรียน สื่อสำหรับศูนย์กิจกรรม แบบทดสอบสำหรับการประเมินผล
11. วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction)
เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
โดยให้ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง (เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย
เพื่อให้ง่ายแก่การเรียนรู้ และผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เรียน
ตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองได้ (Immediate
Feedback) ว่าผิดหรือถูก
ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยตามความสามารถ
และสามารถตรวจสอบผลการเรียนรู้ของได้ด้วยตนเอง
12. บทเรียนโมดูล (Module)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียน
เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างบทเรียนเป็นหน่วยที่มีเนื้อหาหรือกลุ่มประสบการณ์จบในตัวเอง สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แน่นอนและชัดเจนโมดูลหนึ่งๆ
จะประกอบด้วยแนวคิด วัตถุประสงค์
กิจกรรมการเรียน
สื่อและการประเมินผล
ตามปกติมักนิยมจัดไว้ในลักษณะเป็นแฟ้มห่วงชนิดปกแข็งบรรจุเอกสารพิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดีหรือรวบรวมเป็นชุดเอกสาร เป็นหนังสือ เป็นต้น
13. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted
Instruction)
สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง
ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง
กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่
ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ
สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว
ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์
หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ
ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
14. การสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching)
การสอนซ่อมเสริม
หมายถึง การจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำเรียนไม่ทันเพื่อน
ขาดความคิดรวบยอดหรือจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่เก่งฉลาดเพื่อได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
แต่ส่วนใหญ่การสอนซ่อมเสริมมักจัดให้เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ
เรียนในเวลาไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจเรียน
15.หมวกแห่งความคิด (The Six Thinking Hats)
2.หมวกสีแดง
(Red Hat) หมายถึง ความรู้สึกสัญชาตญาณและลางสังหรณ์
เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี
มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์
ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้ โดยฉับพลัน
นั่นก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจ ในแบบหนึ่ง อยู่ ๆ
ก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบ ก้าวกระโดด
ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที
เป็นผลจาการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์
เป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจให้ รายละเอียด หรืออธิบายได้ด้วยคำพูด
เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที
เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใด ๆ...
3.หมวกสีดำ (Black Hat) หมายถึง ข้อควรคำนึงถึงสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจาการเสียเงิน และพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญาและผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย
เป็นตัวแทนของความระมัดระวัง ซึ่งจำเป็นต้องไตร่ครองและยับยั้งการดำเนินการ ถ้าอาจทำให้ความเสียหาย หรือล้มเหลวได้ ผู้บริหารจะใช้หมวกสีดำ เพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสมกับประสบการณ์และมโนธรรมที่เคยมีมา
4.หมวกสีเหลือง (Yellow Hat) หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้ เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจาก ความผิดพลาด ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการและความกระหายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นหรือไม่
เป็นตัวแทนของการแสงหาทางเลือกอย่างมีความหวัง พร้อมทั้งทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใด ๆ...
3.หมวกสีดำ (Black Hat) หมายถึง ข้อควรคำนึงถึงสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจาการเสียเงิน และพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญาและผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย
เป็นตัวแทนของความระมัดระวัง ซึ่งจำเป็นต้องไตร่ครองและยับยั้งการดำเนินการ ถ้าอาจทำให้ความเสียหาย หรือล้มเหลวได้ ผู้บริหารจะใช้หมวกสีดำ เพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสมกับประสบการณ์และมโนธรรมที่เคยมีมา
4.หมวกสีเหลือง (Yellow Hat) หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้ เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจาก ความผิดพลาด ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการและความกระหายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นหรือไม่
เป็นตัวแทนของการแสงหาทางเลือกอย่างมีความหวัง พร้อมทั้งทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
5.หมวกสีเขียว
(Green Hat) หมายถึง
ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
การเปลี่ยนแปลงแนวคิด และมุมมอง
ซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิม
และความคิดนอกกรอบนั้น จะอาศัยข้อมูลจาก ระบบของตัวเราเอง
โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
การคิดอย่างสร้างสรรค์
เป็นตัวแทนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ให้ความสดชื่น ผู้บริหารจะใช้หมวกสีนี้เมื่อมีความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากแนวทางเดิม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับการปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนา
เป็นตัวแทนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ให้ความสดชื่น ผู้บริหารจะใช้หมวกสีนี้เมื่อมีความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากแนวทางเดิม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับการปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนา
6.หมวกสีน้ำเงิน
(Blue Hat) ...บางตำรา เรียกว่า "หมวกสีฟ้า"...
หมายถึง การควบคุมและการบริหารกระบวนการ การคิดเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง
การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน
หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดีและถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า
ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน
ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถสวมหมวกสีน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน
เป็นตัวแทนของการควบคุมความคิดทั้งหมด หรือมุมมองในทางกว้างที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งซึ่งเปรียบเหมือนท้องฟ้า ผู้บริหารที่ใช้หมวกนี้จะต้องอาศัย ประสบการณ์เป็นอย่างมาก
เป็นตัวแทนของการควบคุมความคิดทั้งหมด หรือมุมมองในทางกว้างที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งซึ่งเปรียบเหมือนท้องฟ้า ผู้บริหารที่ใช้หมวกนี้จะต้องอาศัย ประสบการณ์เป็นอย่างมาก
16. การสอนแบบ 4 MAT
แมคคาร์ธี ได้ขยายแนวคิดของคอล์บออกไปให้กว้างขึ้น
โดยเสนอว่าผู้เรียนมีอยู่ 4 แบบหลักๆ ดังนี้
ผู้เรียนแบบที่ 1 (Type
One Learner) ผู้เรียนถนัดการใช้จินตนาการ (Imaginative
Learners) คำถามที่คิดจะพูดขึ้นมาเสมอๆ คือ “ทำไม” “ทำไม”
หรือ Why?
ผู้เรียนแบบที่ 2 (Type
Two Learner)ผู้เรียนถนัดการวิเคราะห์ (Analytic
Learners) คำถามที่สำคัญที่สุดของเด็กกลุ่มนี้ คือ “อะไร”
หรือ What?
ผู้เรียนแบบที่ 3 (Type
Three Learner) ผู้เรียนถนัดใช้สามัญสำนึก (Commonsense
Learners) คำถามยอดนิยมของกลุ่มนี้ คือ “อย่างไร” หรือ How?
ผู้เรียนแบบที่ 4 (Type
Four Learner) ผู้เรียนที่สนใจค้นพบความรู้ด้วยตนเอง (Dynamic
Learners) คำถามที่ผุดขึ้นในหัวใจของเด็กกลุ่มนี้บ่อยๆ
คือ “ถ้าอย่างนั้น” “ถ้าอย่างนี้” “ถ้า” หรือ IF ?
4 MAT เป็นการจัดการสอนให้สอดคล้องและคำนึงถึงการทำงานของระบบสมอง
เป็นวิธีที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ โดยที่ครูไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญพิเศษแต่อย่างใด
แต่สามารถทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่สนุกสนานเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน
ส่งผลให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
และเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ
17.แผนการสอนแบบ CIPPA
การเรียนการสอนแบบซิปปา
เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความสนใจและมีนักการศึกษาให้คำจำกัดความของการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา
ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษร คือ
C หมายถึง Construct คือการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
โดยกระบวนการแสวงหาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สร้างความหมาย
สังเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อความ
I หมายถึง Interaction
คือ
การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้จากกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดและประสบการณ์แก่กันและกัน
P หมายถึง Participation
คือการให้ผู้เรียนมีบทบาท
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด
P หมายถึง Process หรือ Product
คือการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงานข้อความที่สรุปได้
A หมายถึง Application คือการให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
18.วิธีการสอนแบบ
Story line
การเรียนรู้แบบ Story line เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริง
ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าควรทำ ไม่ควรทำ ควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ
อันจะนำไปสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สิ่งดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการใช้หลักสูตรบูรณาการเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง
ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานได้ผลการเรียนรู้มีความคงทน
เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเป็นผลการค้นพบของสตีฟ เบลล์ และแซลลี่
ฮาร์ดเนส (Steve Bell and Sally Hardness) นักการศึกษาชาวสก็อต
ซึ่งสตีฟเบลล์ เรียกว่า การจัดการเรียนรู้ที่เป็นสตอรี่ไลน์ (Story
line approach) และยังเรียกว่าวิธีสตอรี่ไลน์ (Story line method)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น