วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กระบวนการประเมินความต้องการจำเป็น


กระบวนการประเมินความต้องการจำเป็น

กระบวนการประเมินความต้องการจำเป็น เป็นการดำเนินงานที่แปลงความต้องการที่เป็น เจตนารมณ์หรืออุดมคติให้เป็นความต้องการที่เป็นจริงโดยพิจารณาจากข้อมูล ข้อเท็จจริงที่รวบรวมจาก แหล่งข้อมูลและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย นำมาเปรียบเทียบและทบทวนเพื่อหาแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด ในการบรรลุความต้องการหรือการแก้ปัญหาที่ประสบ กระบวนการวิเคราะห์มี 3 ขั้นตอน (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 65) ได้แก่ การบรรยายความต้องการจำเป็น การรวบรวมข้อมูล การสรุปและ ทบทวนความต้องการจำเป็น โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1. การบรรยายความต้องการจำเป็น เป็นขั้นตอนที่ผู้ออกแบบน าเสนอความต้องการ ที่เป็นอุดมคติ ความเชื่อ ความมุ่งมั่นในการเรียนการสอนว่าต้องการให้ผู้เรียนเป็นอย่างไรเมื่อได้รับ การจัดการเรียนการสอนแล้ว เช่น มีความรู้อะไร ทำอะไรได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างไร สิ่งที่ น าเสนอนี้มีแหล่งที่มาจากปรัชญา วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายของโรงเรียนที่ได้ประกาศแก่สาธารณชน และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในหลักสูตรจะบอกถึงเป้าหมายที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนที่คาดหวังเมื่อผู้เรียนได้รับการศึกษาครบระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด 12 ปี ที่เรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ และคุณภาพของผู้เรียนเป็นรายปีในแต่ละ ระดับชั้นที่เรียกว่า ตัวชี้วัด (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) สิ่งที่นำเสนอในขั้นนี้เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ ในระดับกว้างยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ แต่ทำให้เห็นลำดับความสำคัญของความต้องการหรือ เป้าหมายการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องการให้นักเรียนบรรลุ
 2. การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ผู้ออกแบบดำเนินการวิเคราะห์ทางเลือกหรือแนวทางต่าง ๆ ในการน าเป้าหมายการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลหลายด้าน การดำเนินงานในขั้นนี้คือ การวิเคราะห์งาน (task analysis) ซึ่งหมายถึง การจำแนกงานที่ต้องปฏิบัติเป็นกลุ่มงานต่าง ๆ รวมทั้ง การบรรยายรายละเอียดของภาระงานแต่ละงาน และจัดระบบงานให้สัมพันธ์กันจนสามารถดำเนินการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้จะต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน สาระ สื่อ และกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนเป็นลำดับขั้นตอนและบรรลุวัตถุประสงค์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 528) ดังนั้นงานในที่นี้ คืองานเพื่อการเรียนรู้ (learning task) ผลที่ได้ จากการดำเนินงานในขั้นนี้คือ เป้าหมายการเรียนรู้ที่บอกให้ทราบว่าผู้เรียนควรมีความรู้อะไร สามารถ ทำอะไรได้หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนแล้ว นอกจากนั้นยังบอกให้ทราบว่าผู้เรียนต้องมี ความรู้และทักษะพื้นฐานอะไรที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น  การดำเนินงานในขั้นนี้จึงประกอบด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียน (analyzing the learners) เพื่อให้ทราบ ความแตกต่างของผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายการเรียนรู้ว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร มีพื้นฐานความรู้ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร และการวิเคราะห์งานเพื่อการเรียนรู้ (analyzing the learning task) คือ การวิเคราะห์ว่าความรู้หรือเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้นคืออะไร มีลักษณะและธรรมชาติเป็น อย่างไร มีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้เนื้อหานั้นอย่างไรซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบการเรียน การสอน
              3. การสรุปและทบทวนความต้องการจำเป็น เป็นขั้นตอนที่ผู้ออกแบบน าสารสนเทศที่ได้ จากการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมได้มาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการและปัญหาที่แท้จริง หรือปรับปรุงความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรกให้มีความเหมาะสมเป็นจริงมากยิ่งขึ้น และใช้ใน การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่มีการจัดลำดับความสำคัญและกำหนดทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่มี ความเฉพาะเจาะจงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง โดยใช้สารสนเทศต่าง ๆ ที่ได้ศึกษา มาแล้ว ได้แก่ ลักษณะของผู้เรียน สภาพบริบทของการเรียนการสอนในโรงเรียน สารสนเทศเหล่านี้จะช่วยให้ข้อเสนอแนวทางการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหามีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ในการปฏิบัติสอดคล้องกับเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่ต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดผลและประเมินผล

การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของ...