วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการใช้ผังกราฟิก


เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
1.ผังความคิด (A Mind Map)
Mind map คือ การนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ การเขียนแผนที่ความคิด เกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง เป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้งสองซีก คือ สมองซีกซ้ายและซีกขวา โดยสมองซีกขวาจะทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ และสมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ภาษา สัญลักษณ์ ลำดับ ระบบ ความเป็นเหตุเป็นผลตรรกวิทยา
แผนที่ความคิด เป็นแผนภาพที่ใช้ในการมองเห็นการจัดระเบียบข้อมูล แผนที่ความคิดมักจะถูกสร้างขึ้นรอบแนวคิดเดียวที่วาดเป็นภาพในใจกลางของหน้าภูมิทัศน์ที่ว่างเปล่าซึ่งเป็นตัวแทนของความคิดที่เกี่ยวข้องเช่นภาพคำและบางส่วนของคำที่มีการเพิ่ม ความคิดหลักจะเชื่อมต่อโดยตรงกับแนวคิดกลางและความคิดอื่น ๆ สาขาออกจากคนเหล่านั้นแผนที่ความคิดที่สามารถวาดด้วยมือไม่ว่าจะเป็น “บันทึกหยาบ” ในระหว่างการบรรยายที่เซสชั่นการประชุมหรือการวางแผนเช่นหรือเป็นภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้นเมื่อเวลามากขึ้นที่สามารถใช้ได้แผนที่ความคิดจะถือว่าเป็นชนิดของ Diagram แมงมุม แนวคิดที่คล้ายกันในปี 1970 ก็คือ “ความคิดที่ดวงอาทิตย์ระเบิด”



2. ผังมโนทัศน์ (A Concept map)
ผังมโนทัศน์  หมายถึง  ความคิดความเข้าใจที่ได้รับมาจากการสังเกต หรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  นำมาจัดประเภทของข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันไว้ในกลุ่มหรือประเภทเดียวกันโดยอาศัยคุณลักษณะร่วมกัน เป็นเกณฑ์  องค์ประกอบของแผนผังมโนทัศน์มี  3  องค์ประกอบ  คือ  มโนทัศน์หลัก   มโนทัศน์รอง   มโนทัศน์ย่อย   โดยเชื่อมโยงมโนทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กันด้วยเส้น
รูปแบบของผังมโนทัศน์มี 5 แบบ  ได้แก่ 
-  แบบกระจายออก (Point grouping)  
-  แบบปลายเปิด (Opened grouping) 
-  แบบปลายปิด (Closed grouping) 
-  แบบเชื่อมโยงข้ามจุด  (Linked  grouping) 
-  แบบผสม  (Mixed  grouping)







3.ผังแมงมุม (A Spider Map)
                เป็นการแสดงมโนทัศน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม











4. ผังก้างปลา (A Fishbone Map)
                เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทำให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุย่อยที่ชัดเจน








เทคนิคตระกูล K

KWL
เทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นรู้ = K (Know) ผู้สอนจะต้องตั้งประเด็นผู้สอนจะตั้งประเด็น (หรือหัวข้อบทเรียน) ให้ผู้เรียนทุกคนทราบ หลังจากนั้นจึงปล่อยให้ผู้เรียนแต่ละคนได้คิด และให้ผู้เรียนแต่ละคน (หรือแต่ละกลุ่ม) ได้เขียนสาระต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีความรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับประเด็นที่ผู้สอนตั้งไว้ในกระดาษที่ผู้สอนแจกให้
2. ขั้นต้องการเรียน = W (Want)
หลังจากที่ผู้เรียนบันทึกสาระต่าง ๆ ที่ตนเองมีความรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับประเด็น (หรือหัวข้อบทเรียน) ที่ผู้สอนตั้งไว้แล้ว ผู้สอนจะให้ผู้เรียนบันทึกถึงความต้องการที่เกี่ยวกับสาระหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะบันทึกเป็นหัวข้อ ย่อย ๆ ก็ได้ ถ้าเป็นกิจกรรมกลุ่ม สามารถให้กลุ่มช่วยกันคิดว่า ต้องการเรียนรู้สิ่งใดเพิ่มเติม ในหัวข้อที่ผู้สอนกำหนดไว้หลังจากนั้น  จะมีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ ซึ่งอาจให้ผู้สอนเป็นผู้นำชั้นเรียน หรือปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนแต่เพียงลำพังจากสื่อ  ต่าง ๆ ที่ผู้สอนจัดไว้ให้ หรืออาจจะให้ผู้เรียนออกไปค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหัวข้อย่อย ๆ ที่ผู้เรียนบันทึกไว้ในกระดาษช่อง W
3. ขั้นเรียนรู้แล้ว = L (Learned) ในขั้นสุดท้ายนี้ จะให้ผู้เรียนบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วจากขั้นตอนที่ผ่านมา ลงในกระดาษช่องทางขวามือที่เหลือ และให้ผู้เรียนช่วยกันสรุปว่า สิ่งที่ผู้เรียนรู้แล้ว (K) สิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียน (W) และสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้แล้ว (L) มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร และสรุปผลความรู้ที่ได้
            นอกจากนี้ แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโมเดล K-W-L ยังเตรียมความพร้อมและส่งเสริมผู้เรียนในเรื่องการเรียนรู้เป็นรายบุคคล รวมทั้งการส่งเสริมแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อีกด้วย โมเดล K-W-L เอื้อประโยชน์หลายอย่างต่อผู้เรียน เช่น
- เป็นเครื่องมือนำทางที่เป็นรูปธรรมในการค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียน
- ช่วยระบุแหล่งที่มาของข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน
- สามารถทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลได้ง่ายหลังจากเมื่อทราบแหล่งข้อมูล
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ให้พร้อมในระดับที่สูงขึ้น 


วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโมเดล K-W-L คือ
1. เป็นการกระตุ้นความอยากใคร่ใฝ่รู้ในสิ่งที่ผู้เรียนสนใจจริงๆ กระตุ้นให้ค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจ ตกลงใจ และตระหนักในสิ่งที่อยากจะเรียนรู้หรือสนใจจริงๆ และพัฒนาจนกลายเป็นข้อคำถามและความสงสัยส่วนตัว ซึ่งจะกลายเป็นวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เรื่องนั้นต่อไป
3. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียน ความเข้าใจในบทเรียนได้ตลอดเวลา
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับการค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือแบบเรียนเพียงอย่างเดียว       
            การจัดการเรียนการสอน K-W-L ยังช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ เช่น การเขียนสื่อความ แปลความสรุปความ ความสวยงามของภาษา เป็นต้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียนทุกระดับชั้น ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โมเดล K-W-L กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของข้อมูล/ประสบการณ์เดิมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่รู้ผ่านโมเดล K-W-L
การประยุกต์ใช้แนวคิดโมเดล K-W-L
โดยหลักการแล้ว การนำแนวคิดโมเดล K-W-L ไปประยุกต์ใช้สามารถทำได้ ดังนี้
1. ระดมสมองผู้เรียนและรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับหัวข้อของบทเรียน (“K” หรือ “What I Already Knew” คอลัมน์)
2. กระตุ้นผู้เรียน อภิปรายในสิ่งที่ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้เพิ่มเติม (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
3. วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
- วางเป้าหมาย
- กำหนดแหล่งที่มาของข้อมูล/แหล่งข้อมูล
- วางแผนวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
- ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
4. ประมวลข้อมูล สรุปผลตรวจสอบ เนื้อหา (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
5. สะท้อนการเรียนรู้ ระบุสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ (“L” หรือ “What I Have Learned” คอลัมน์)
KWL  plus
                เทคนิค KWL Plus ก็คือ การจัดกิจกรรมของ KWL แล้วเพิ่มเติมในส่วนของการสรุปสาระสำคัญ และให้นักเรียนทำแผนผังมโนทัศน์หรือแผนผังความคิด (Mind Mapping) เพื่อสรุปความคิดรวบยอดหลักของนักเรียน
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus
                ขั้นก่อนการอ่าน
1. ขั้น K ผู้สอนจะนำเสนอหัวข้อเรื่องที่จะให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและสิ่งที่ตนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน รวมถึงวิธีที่นักเรียนได้รับความรู้นั้นโดยเริ่มจาการระดมความคิดของผู้เรียนทั้งชั้นเรียน แล้วให้ผู้เรียนแต่ละคู่หรือกลุ่มระดมสมองกันภายในกลุ่มของตนเองอีกครั้งพร้อมทั้งเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในใบงานช่อง k
2. ขั้น w ให้ผู้เรียนแต่ละคู่หรือกลุ่มตั้งคำถามถึงสิ่งที่ต้องการทราบเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้นลงในใบงาน ช่อง w
ขั้นระหว่างอ่าน
3. ผู้สอนจะให้ผู้เรียนแต่ละคู่หรือกลุ่มศึกษา เนื้อเรื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง โดยผู้เรียนสามารถปรึกษากับคู่หรือกลุ่มของตนเองได้
4. ขั้น L ในขณะที่อ่านเรื่องให้เขียนคำตอบให้กับคำถามที่คู่หรือกลุ่มของตนเองได้ตั้งไว้และเขียนคำตอบหรือความรู้ที่ได้รับจากบทอ่านลงในช่อง L หากเกดคำถามเพิ่มเติมระหว่างอ่านสามารถตั้งคำถามเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องการทราบเพิ่มเติมในช่อง w
ขั้นหลังอ่าน
5. ผู้เรียนแต่ละคู่หรือกลุ่มอภิปรายผลของคำตอบที่ได้เขียนลงในช่อง L
6. ขั้น H ผู้สอนจะสอบถามถึงคำถามที่ผู้เรียนแต่ละคู่หรือกลุ่มได้ตั้งขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งสอบถามถึงแนวทางและแหล่งในการสืบค้นข้อมูล เพื่อตอบคำถามที่ได้ตั้งขึ้น โดยให้เขียนวิธีการและแหล่งข้อมูลเหล่านั้นลงในช่อง H และดำเนินการสืบค้นข้อมูลตามที่ได้วางแผนไว้





KWDL
(K W D L) หรือ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทาความเข้าใจ เช่น วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอบ 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้
ขั้นที่ 3 D (What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ หรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้
ขั้นที่ 4 L (What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ 

KWLH
เทคนิค K-W-L-H หมายถึง การใช้กระบวนการคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยเน้นการใช้ความรู้เดิมของผู้อ่านในการตีความ ทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน และเพื่อความเข้าใจตรงจุดประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านทราบ มีการวางแผน ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมก่อนอ่าน กิจกรรมระหว่างอ่าน และกิจกรรมหลังอ่าน โดยเน้นทักษะกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้น K
หมายถึง "What You Know"เป็นการตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด
ขั้น "K" (What You Know) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่ามีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เป็นการนำความรู้เดิมมาใช้เพราะการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ การเตรียมการเรียนรู้เนื้อหาใหม่

ขั้น W
หมายถึง "What You Want to Know" เป็นการถามตนเองว่าต้องการเรียนรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่จะอ่านบ้าง
ขั้น "W" (What You Want to Know)เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรจากบทอ่านบ้างช่วยให้นักเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่าน และสร้างแรงจูงใจในการอ่านด้วย
ขั้น L
หมายถึง "What YouLearned" เป็นขั้นตอนการสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน
ขั้น "L" (What You Learned) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไร
บ้างจากบทอ่าน ได้รับความรู้ใหม่หรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้ เป็นการหาคำตอบสำหรับคำถามที่นักเรียนตั้งไว้ในขั้นของ "W"เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ และจัดระบบความรู้ ความคิด ฝึกสรุปประเด็นสำคัญ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านอย่างถูกต้อง
ขั้น H
ในเทคนิค K-W-L-H หมายถึง "How You Can Learn More" เป็นการถามตนเองว่าต้องการจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมอีกได้อย่างไร
ขั้น "H" (How You Can Learn More)เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหรือค้นหาว่านักเรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้อย่างไรเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่อ่าน เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการขยายความรู้ความคิดให้กว้างและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น



เทคนิคการสอนการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพแบบ PWIM (Picture Word Inductive Model )
เทคนิคการสอนการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพแบบ PWIM ใช้รูปภาพที่สอดคล้องกับสาระวัตถุประสงค์และวัยของผู้เรียนเป็นสื่อที่นำไปสู่การรู้คำศัพท์ วลี ประโยค ข้อความ จนถึงการอ่านและการเรียนรู้ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยการฝึกซ้ำๆและปริมาณมากๆ
วิธีการดำเนินงาน
1.เริ่มต้นการใช้รูปภาพที่ประกอบด้วยวัตถุ สิ่งของ ฉาก เหตุการ์ณ สถานการ์ณให้นักเรียนสังเกต
2.ครูโยงภาพกับคำศัพท์หรือคำที่นักเรียนเสนอ นักเรียนพูดออกเสียงและสะกดคำ
3.นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มหรือจัดประเภทคำหรือคำศัพท์ที่ระบุจากภาพ
4.นักเรียนเขียนวลีจากประโยคคำศัพท์ต่างๆ
5.นักเรียนฝึกเขียนเรียงความ ย่อหน้า และฝึกแต่งเรื่องจากภาพ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดผลและประเมินผล

การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของ...