เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้อย่างตื่นตัว ( active participation )
Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป
(Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน
2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์,
และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
(Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive)
ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators)
( Fedler and Brent, 1996)
Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง
แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง ” ความรู้
“ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์
กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว
ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน,
การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา
อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์,
และการประเมินค่า
การเรียนรู้ที่แท้จริง
หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
(ซึ่งอาจเป็นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ ฯลฯ)
จากกระบวนการที่บุคคลรับรู้และจัดทำต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งเร้า
(สิ่งที่เรียนรู้) นั้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน
จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจอย่างแท้จริง และสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตนได้
เทคนิคกับวิธีการสอน คืออะไร
วิธีการสอน
คือ
ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ
ที่แตกต่างไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเฉพาะหรือลักษณะเด่นที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ”
(ทิศนา แขมมณี, 2551 : 323)
เทคนิคการสอน
หมายถึง
กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน หรือการกระทำต่างๆ ในการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น”
(ทิศนา แขมมณี, 2551 : 386)
เทคนิคกับวิธีการสอน
ต่างกันอย่างไร...
เกมเป็นวิธีการสอนได้ถ้าครูมุ่งใช้เกมเป็นหลักในการสอน
มีขั้นตอนที่เป็นลักษณะเฉพาะของเกมที่ชัดเจน
เกมเป็นเทคนิคการสอนได้ถ้าครูมีวิธีการสอนอื่นเป็นหลัก
แต่เอาเกมมาเป็นตัวช่วยให้วิธีการสอนนั้นมีคุณภาพมากขึ้น
วิธีการสอนแบบเกม
·
เทคนิคการตั้งคำถาม
·
เทคนิคผังกราฟิก
·
เทคนิค KWL
วิธีการสอนแบบบรรยาย
·
เทคนิคการตั้งคำถาม
·
เทคนิคผังกราฟิก
·
เทคนิค KWL
·
เทคนิคการใช้เกม
วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกมาตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน การอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
ทิศนา แขมมณี (2550
: 358-359) อธิบายขั้นตอนสำคัญของการสอนไว้ดังนี้
1. ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
2. ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท
3. ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
5. ผู้สอนและผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
6. ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1. ช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าคนอื่นอาจคิด รู้สึก และปฏิบัติอย่างไร เห็นอกเห็นใจคนอื่น
2. ใช้ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
3. ผู้เรียนได้รับการเตรียมสำหรับสถานการณ์จริงที่จะเผชิญ
4. กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
5. สามารถใช้พัฒนาทักษะทางสังคม
6. ใช้ในการสอนหรือประเมินผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย หรือทั้งสองประการ
7. ผู้แสดงบทบาทเรียนรู้การจัดระบบความคิด และการตอบสนองโดยฉับพลัน
8. ฝึกการใช้ระบบสื่อสารจากการปฏิบัติมากกว่าจากการใช้ถ้อยคำ
ข้อจำกัดหรือจุดด้อย
1. ใช้เวลามาก
2. นักเรียนเก่งมักผูกขาดสถานการณ์
3. ผู้ที่ขาดทักษะที่จำเป็น เช่น เป็นคนขี้อาย พูดติดอ่าง จะรู้สึกไม่สบายใจและเป็นปัญหามาก
4. ผู้เรียนบางคนไม่สามารถแสดงบทบาทตามกำหนดได้
5. ถ้าไม่สามารถเชื่อมโยงการแสดงบทบาทสมมติกับบทเรียนให้กับผู้เรียนได้ก็จะทำกิจกรรมทั้งหมดนี้ด้อยคุณค่า
สามารถ คงสะอาด (2535 : 52) กล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบบทบาทสมมติ ไว้ดังนี้
วิธีการสอนโดยกรณีศึกษา (Case Study)
การสอนด้วยกรณีศึกษาเป็นวิธีการสอนที่ได้รับความนิยมในหลากหลายสาขาวิชา
เช่น การจัดการกฎหมาย และแพทย์ศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาเพื่อสอนนิสิตนักศึกษาครู
ในกระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้
ผู้สอนจะนำเสนอกรณีตัวอย่างที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิด
หาคำตอบที่หลากหลายเพื่อใช้ในการอภิปราย
และหาทางแก้ไขปัญหาซึ่งมีทางออกที่หลากหลาย
การเตรียมกรณีศึกษาสำหรับผู้สอน
กรณีศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้
ดังนั้นการเตรียมกรณีศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
คำแนะนำสำหรับการจัดทำกรณีตัวอย่าง มีดังนี้
· ควรเป็นเรื่องพัฒนาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
· ควรนำเสนอประเด็นหรือปัญหามากกว่าการสอนหลักการ
ทฤษฎี
· กรณีตัวอย่างนำเสนอด้วยวิธีการเล่าเรื่อง
· การเล่าเรื่องจะต้องลำดับให้เข้าใจง่าย
มีความกระจ่างของสิ่งที่ต้องการนำเสนอในกรณีศึกษา
ขั้นตอนการเขียนกรณีศึกษา
1.
ขั้นวางแผน
- การระบุจุดมุ่งหมายของการเขียนกรณีตัวอย่าง
- วิเคราะห์ผู้เรียน
- เลือกสารสนเทศที่จำเป็นต้องมีในกรณีตัวอย่าง
2.
ขั้นการลำดับความคิด
3.
ขั้นร่างและเขียนเรียบเรียง
4.
ขั้นทบทวนและปรับปรุง
วิธีการสอนโดยใช้เกม (Game)
|
||
ความหมาย ( ทิศนา แขมมณี 2543 : 81 – 85 )วิธีสอนโดยใช้เกมส์
เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ
อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง
ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง
ขั้นตอนสำคัญของการสอน 1. ผู้สอนนำเสนอเกมส์ ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น 2. ผู้เรียนเล่นเกมส์ตามกติกา 3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการเล่นหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน ข้อดี 1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเองทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมาย และอยู่คงทน 2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสอน ข้อจำกัด 1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก 2. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก 3. เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่าย วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึง วิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ใน ชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือจริงที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้ เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ ด้วยกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหา จะต้องมีการตัดสินใจและใช้ไหวพริบ วัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์จนเกิดความเข้าใจ ลักษณะสำคัญ สถานการณ์ที่จำลองขึ้นต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริง ผู้เรียนได้เข้า ไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์ ทำการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจจะส่งผลถึงผู้เรียนใน ลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ขั้นตอนการสอน 1. ขั้นเตรียม ผู้สอนจัดเตรียมสถานการณ์โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนแล้ว เลือกรูปแบบและขั้นตอนที่เหมาะสม เขียนเนื้อหารายละเอียดและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ 2. ขั้นดำเนินการ ผู้สอนอธิบายบทบาทหรือกติกา วิธีการเล่น วิธีการให้คะแนนและ ทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมที่กำหนด โดยมีผู้สอนให้คำแนะนำและดูแลการเล่น ผู้สอนทำการสังเกต จดบันทึก และให้คะแนนผู้เรียนเป็นรายบุคคล 3. ขั้นสรุป ผู้สอนจะช่วยสรุปด้วยการวิเคราะห์กระบวนการ เปรียบเทียบบทเรียนจา กดสถานการณ์จำลองกับโลกแห่งความเป็นจริง หรือเชื่อมโยงกิจกรรมที่ปฏิบัติไปแล้วกับเนื้อหาวิชาที่ เรียน ข้อควรคำนึง 1. ถ้าผู้สอนขาดความรู้ในการสร้างสถานการณ์จำลอง อาจสร้างผิดไปจากจุดมุ่งหมายได้ 2. สถานการณ์จำลองที่ยากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ 3. เป็นการยากที่จะประเมินผู้เรียนแต่ละคน
|
||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น