วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้ KWL

 การจัดการเรียนรู้แบบ  KWL  มีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.   ขั้น   K   (What   you   know) 
               เป็นขั้นของการเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนอ่าน   เช่น   ถ้าจะให้เรียนรู้เรื่อง 
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ   ผู้สอนอาจทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่อง  
ทรัพยากรธรรมชาติรอบตัว  แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันระดมสมองในสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   ขณะเดียวกันก็จะให้มีการบันทึกความคิดเห็นที่เกิดจากการระดมสมอง   ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี   เช่น   ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันบันทึกบนกระดานดำในรูปของแผนที่ความคิด   (Mind   Map)   หรือแผนผังใยแมงมุม   (Web   Diagram)   ให้ชัดเจน   ซึ่งจะประกอบด้วยความคิดหลัก   ความคิดรองและความคิดย่อยตามลำดับ   โดยผู้สอนช่วยจัดข้อความที่เป็นความคิดให้ถูกต้อง ก่อนที่จะให้ผู้เรียนคัดลอกแผนที่ความคิดหรือแผนผังนั้นลงในแผ่นกระดาษ   แต่ถ้าผู้เรียนคุ้นเคยกับการเขียนแผนผังความคิดแล้ว   ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ เกี่ยวกับหัวข้อที่ผู้สอนจะให้ผู้เรียนเรียนรู้ เป็นแผนผังความคิดด้วยตนเอง
2.   ขั้น  W   (What   you   want   to   know)
               2.1    การตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน       
หลังจากที่ผู้สอนกระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียนในขั้น   K   แล้วผู้สอนจะ
นำผู้เรียนไปสู่ขั้นการตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้   โดยการอ่านซึ่งผู้สอนจะ
ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียน     เช่น
  • นักเรียนต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง   ในเรื่องการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
  • ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะเกิดผลอย่างไร
  • นักเรียนจะมีวิธีการแนะนำให้เพื่อน  ๆ   หรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติอย่างไร   เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ถ้านักเรียนมีโอกาสพูดคุย  กับท่านนายกรัฐมนตรี   นักเรียนต้องการจะถาม    อะไรบ้าง    เกี่ยวกับเรื่องนี้    เป็นต้น
              2.2 ผู้เรียนเขียนคำถาม
ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนคำถามที่ตนมีลงในกระดาษให้มากที่สุด
              2.3  ผู้เรียนหาคำตอบ
ผู้สอนให้ผู้เรียนอ่านข้อความที่ผู้สอนเตรียมไว้   โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามหาคำตอบในสิ่งที่ตนตั้งคำถามไว้แล้วนั้น   ในขั้นนี้ผู้สอนอาจดัดแปลงจากการอ่าน   เป็นการใช้วิธีบรรยายหรือดูวีดิทัศน์ก็ได้ และจะเป็นการเน้นทักษะการฟังแทนการอ่าน
3.    ขั้น   L   (What   you   have   learned)
หลังจากที่ผู้เรียนอ่านข้อความแล้ว   ให้ผู้เรียนเขียนคำตอบที่ได้ลงในกระดาษเปล่า    รวมทั้งเขียนข้อมูลอื่น  ๆ   ที่ศึกษาเพิ่มเติมได้   แต่ไม่ได้ตั้งคำถามไว้การบันทึกข้อมูลตามกิจกรรมในขั้น   K   W   และ   L   นั้นผู้สอนควรให้ผู้เรียนบันทึกโดยใช้ตาราง   3   ช่องดังตัวอย่างข้างล่าง

K
(ผู้เรียนเรียนรู้อะไรบ้าง)
W
(ผู้เรียนต้องการรู้อะไรบ้าง)
L
(ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร)









4.    ขั้นการเขียนสรุปและนำเสนอ
กิจกรรมในขั้นนี้เป็นกิจกรรมเพิ่มเติมในขั้นตอนหลัก   KWL   หลังจากผู้เรียน
ได้เรียนรู้และเขียนข้อมูลความรู้ที่ได้ในขั้น   W   และ   L    แล้ว   ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาปรับแผนผังความคิดเดิมที่ผู้เรียนเขียนไว้ในขั้น   K   ซึ่งอาจจะมีการตัดทอนเพิ่มเติม   หรือจัดระบบข้อมูลใหม่   เพื่อให้ผังความคิดมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น   หรืออาจมีกิจกรรมอื่น    ที่ผู้สอนเห็นว่าเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้   เช่น   มีการอภิปรายถึงเหตุและผลกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อม    หรือให้ผู้เรียนนำเสนอแผนผังความคิด     เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวัดผลและประเมินผล

การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของ...