วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้ KWDL


การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหรือกระบวนการ KWDL  มีขั้นตอนการดำเนินการเช่นเดียวกับ KWL  เพียงแต่เพิ่มขั้น D  ในขั้นตอนที่ 3  ซึ่ง KWDL  มาจากคำที่ว่า 
  • K  :  เรารู้อะไร (What  we  know)  หรือโจทย์บอกอะไรเราบ้าง  (สำหรับคณิตศาสตร์)
  • W  :  เราต้องการรู้ , ต้องการทราบอะไร (What  we  want  to  know) 
  • D  :  เราทำอะไร ,  อย่างไร (What  we  do)  หรือเรามีวิธีอย่างไรบ้าง  หรือมีวิธีดำเนินการเพื่อหาคำตอบอย่างไร
  • L :  เราเรียนรู้อะไรจากการดำเนินการ  ขั้นที่ 3  (What  we  learned)  ซึ่งคือคำตอบสาระความรู้ และวิธีหาคำตอบและขั้นตอนการคิดคำนวณ   เป็นต้น
แผนภูมิเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้ KWDL

K
โจทย์บอกอะไรบ้าง
W
โจทย์ให้หาอะไร
D
ดำเนินการตามกระบวนการ
L
คำตอบที่ได้ และคิดคำตอบอย่างไร
  1.  ………………
……………………….
……………………….
2. ………………
………………………..
  1. ……………..
……………………….
……………………….
2. ………………
…………………..….
แสดงวิธีทำวิธีที่ 1
ประโยคสัญลักษณ์
……………………….
……………………….
คำตอบ……………………
สรุปขั้นตอน
……………………
……………………
สถานการณ์โจทย์ปัญหาการหาร
พี่ชายใจดีมีเงินอยู่  3,200  บาท  แบ่งให้น้อง  5  คน  คนละเท่า ๆ กัน น้องแต่ละคนจะได้เงินคนละเท่าไร
 การทำโจทย์ปัญหาตามเทคนิค  KWDL 
K
โจทย์บอกอะไรบ้าง
W
โจทย์ให้หาอะไร
D
ดำเนินการตามกระบวนการ
L
คำตอบที่ได้ และคิดคำตอบอย่างไร
  1. พี่ชายมีเงิน
อยู่ 3,200  บาท
2.แบ่งให้น้อง5 คน ๆ ละ เท่า ๆ กัน
-น้องแต่ละคนจะได้เงินคนละเท่าไร แสดงวิธีทำวิธีหาร (÷)ประโยคสัญลักษณ์    3,200÷5=ם
วิธีทำ
พี่ชายใจดีมีเงินอยู่     3,200 บาท                                         ÷
แบ่งให้น้อง              5 ค
น้องแต่ละคนจะได้เงินคนละ640 บาท
ตอบ  640  บาท

การจัดการเรียนรู้ KWL plus

ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus
1.ขั้น K (What do I know)
ขั้นตอนนี้ก่อนที่นักเรียนจะอ่านเรื่อง ครูอธิบายความคิดรวบยอดของเรื่องและกำหนดคำถามโดยครูกระตุ้นหรือถามให้นักเรียนได้ระดมสมอง (Brainstorms) เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนรู้แล้วและนำข้อมูลที่ได้มาจำแนก แล้วเขียนคำตอบของนักเรียนในแผนภูมิรูปภาพช่อง K (What do I know) หลังจากนั้นนักเรียนและครูร่วมกันจัดประเภทความรู้ที่คาดการณ์ว่าอาจเกิดขึ้นในเรื่องที่จะอ่าน 
2.ขั้น W (What do I want to learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนค้นหาความจริงจากคำถามในสิ่งที่สนใจอยากรู้ หรือคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของเรื่อง พร้อมทั้งให้นักเรียนเขียนรายการคำถามที่ตั้งไว้ ในระหว่างอ่านนักเรียนสามารถเพิ่มคำถามและคำตอบในกลุ่มของตัวเองได้
3.ขั้น L1 (What did I learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างการอ่านและหลังการอ่าน ลงในช่อง L (What did I learn) พร้อมทั้งตรวจสอบคำถามที่ยังไม่ได้ตอบ 
4.ขั้น L2 (Mapping)
นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จัดประเภทไว้ในขั้นตอน K(What do I know) เขียนชื่อเรื่องไว้ในตำแหน่งตรงกลางและเขียนองค์ประกอบหลักของแต่ละหัวข้อ พร้อมทั้งเขียนอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น 
5.ขั้น L3 (Summarizing)
ขั้นตอนนี้นักเรียนช่วยกันสรุปและเขียนสรุปความคิดรวบยอดจากแผนภูมิความคิดซึ่งการเขียนในขั้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและนักเรียนในการประเมินความเข้าใจของนักเรียน
K
(นักเรียนรู้อะไรบ้าง)
W
(นักเรียนต้องการรู้อะไร)
L
(นักเรียนได้เรียนรู้อะไร)




แผนผังมโนทัศน์



ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ KWL plus

ขั้น
บทบาทครู
บทบาทนักเรียน
K
ครูเลือกเรื่องหรือบทความที่เหมาะสมกับระดับชั้นและระดับความสามารถในการอ่าน
ตามวัยของนักเรียน กระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิด โดยใช้คำถามตะล่อมเพื่อให้นักเรียน
อธิบายเหตุผลและแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลที่คาดว่าจะใช้
- ตอบคำถาม และบันทึกสิ่งที่นักเรียนรู้
ในช่อง K (What do I know)
W
แนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการตั้งคำถามเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ต้องการจากการอ่าน
กระตุ้นให้นักเรียนแสวงหาคำตอบจากคำถามที่ตั้งไว้ในขณะอ่าน
อภิปรายและระดมความคิด เขียนคำถามที่ตั้งไว้ลงในช่อง W (What do Iwant to learn?)
อ่านเรื่องหรือบทความและตอบคำถามที่ตั้งไว้ รวมทั้งเพิ่มเติมคำ ถามในประเด็นที่ต้องการรู้
L
ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้อภิปรายผลการเรียนรู้ที่ได้จากการอ่าน
ครูแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมแก่นักเรียนในส่วนที่นักเรียนยังหาคำตอบไม่ได้

อภิปราย และเขียนบันทึกแนวคิดความรู้ที่พบว่าน่าสนใจจากการอ่านลงในช่อง L (What did I learn)
ค้นคว้าเพิ่มเติมคำถามบางคำถามที่ยัง
หาคำตอบไม่ได้จากการอ่านครั้งนี้
Plus
ทบทวนรูปแบบการเขียนแผนผังมโนทัศน์โดยให้นักเรียนช่วยกันเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการสรุปเรื่องที่อ่าน

สร้างแผนผังมโนทัศน์ โดยเลือกข้อมูลสำคัญที่ได้จากเรื่องที่อ่าน
สรุปข้อมูลโดยใช้โครงร่างข้อมูลจากแผนผังมโนทัศน์ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยเขียนรายละเอียดเฉพาะที่เป็นใจความหลักเพื่อขยายหัวข้อในแต่ละประเภท

การจัดการเรียนรู้ KWL

 การจัดการเรียนรู้แบบ  KWL  มีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.   ขั้น   K   (What   you   know) 
               เป็นขั้นของการเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนอ่าน   เช่น   ถ้าจะให้เรียนรู้เรื่อง 
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ   ผู้สอนอาจทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่อง  
ทรัพยากรธรรมชาติรอบตัว  แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันระดมสมองในสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   ขณะเดียวกันก็จะให้มีการบันทึกความคิดเห็นที่เกิดจากการระดมสมอง   ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี   เช่น   ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันบันทึกบนกระดานดำในรูปของแผนที่ความคิด   (Mind   Map)   หรือแผนผังใยแมงมุม   (Web   Diagram)   ให้ชัดเจน   ซึ่งจะประกอบด้วยความคิดหลัก   ความคิดรองและความคิดย่อยตามลำดับ   โดยผู้สอนช่วยจัดข้อความที่เป็นความคิดให้ถูกต้อง ก่อนที่จะให้ผู้เรียนคัดลอกแผนที่ความคิดหรือแผนผังนั้นลงในแผ่นกระดาษ   แต่ถ้าผู้เรียนคุ้นเคยกับการเขียนแผนผังความคิดแล้ว   ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ เกี่ยวกับหัวข้อที่ผู้สอนจะให้ผู้เรียนเรียนรู้ เป็นแผนผังความคิดด้วยตนเอง
2.   ขั้น  W   (What   you   want   to   know)
               2.1    การตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน       
หลังจากที่ผู้สอนกระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียนในขั้น   K   แล้วผู้สอนจะ
นำผู้เรียนไปสู่ขั้นการตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้   โดยการอ่านซึ่งผู้สอนจะ
ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียน     เช่น
  • นักเรียนต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง   ในเรื่องการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
  • ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะเกิดผลอย่างไร
  • นักเรียนจะมีวิธีการแนะนำให้เพื่อน  ๆ   หรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติอย่างไร   เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ถ้านักเรียนมีโอกาสพูดคุย  กับท่านนายกรัฐมนตรี   นักเรียนต้องการจะถาม    อะไรบ้าง    เกี่ยวกับเรื่องนี้    เป็นต้น
              2.2 ผู้เรียนเขียนคำถาม
ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนคำถามที่ตนมีลงในกระดาษให้มากที่สุด
              2.3  ผู้เรียนหาคำตอบ
ผู้สอนให้ผู้เรียนอ่านข้อความที่ผู้สอนเตรียมไว้   โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามหาคำตอบในสิ่งที่ตนตั้งคำถามไว้แล้วนั้น   ในขั้นนี้ผู้สอนอาจดัดแปลงจากการอ่าน   เป็นการใช้วิธีบรรยายหรือดูวีดิทัศน์ก็ได้ และจะเป็นการเน้นทักษะการฟังแทนการอ่าน
3.    ขั้น   L   (What   you   have   learned)
หลังจากที่ผู้เรียนอ่านข้อความแล้ว   ให้ผู้เรียนเขียนคำตอบที่ได้ลงในกระดาษเปล่า    รวมทั้งเขียนข้อมูลอื่น  ๆ   ที่ศึกษาเพิ่มเติมได้   แต่ไม่ได้ตั้งคำถามไว้การบันทึกข้อมูลตามกิจกรรมในขั้น   K   W   และ   L   นั้นผู้สอนควรให้ผู้เรียนบันทึกโดยใช้ตาราง   3   ช่องดังตัวอย่างข้างล่าง

K
(ผู้เรียนเรียนรู้อะไรบ้าง)
W
(ผู้เรียนต้องการรู้อะไรบ้าง)
L
(ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร)









4.    ขั้นการเขียนสรุปและนำเสนอ
กิจกรรมในขั้นนี้เป็นกิจกรรมเพิ่มเติมในขั้นตอนหลัก   KWL   หลังจากผู้เรียน
ได้เรียนรู้และเขียนข้อมูลความรู้ที่ได้ในขั้น   W   และ   L    แล้ว   ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาปรับแผนผังความคิดเดิมที่ผู้เรียนเขียนไว้ในขั้น   K   ซึ่งอาจจะมีการตัดทอนเพิ่มเติม   หรือจัดระบบข้อมูลใหม่   เพื่อให้ผังความคิดมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น   หรืออาจมีกิจกรรมอื่น    ที่ผู้สอนเห็นว่าเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้   เช่น   มีการอภิปรายถึงเหตุและผลกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อม    หรือให้ผู้เรียนนำเสนอแผนผังความคิด     เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

ผู้จัดทำ



บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช
สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ผู้จัดทำ
นางสาวขวัญกมล  วงมีแก้ว รหัสนักศึกษา 593150410201 ชั้นปีที่ 2 
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

การจัดการเรียนรู้ KWLH

  • การจัดการเรียนรู้ KWLH


Know
รู้อะไรบ้างจากคำว่าดอกกุหลาบ
What to learn
ต้องการรู้อะไรบ้างจากดอกกุหลาบ
What they learn as they read
รู้อะไรบ้างจากการอ่านเรื่องดอกกุหลาบ
How we can learned more
จะหาความรู้เพิ่มเติมโดยวิธีใด
-กุหลาบคือดอกไม้ในสกุล Rosa ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า "Rosa hybrids" และมีชื่อวงศ์ว่า "Rosaceae"

-ลักษณะของกุหลาบนั้นมีทั้งไม้พุ่มและไม้เลื้อย ลำต้นและกิ่งจะมีหนาม ส่วนดอกของกุหลาบจะมีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกมีลักษณะใหญ่ มีไม่ต่ำกว่า 5กลีบ กุหลาบนั้นมีกลิ่นหอมชวนดม และมีหลายสี เช่น แดง ขาว เหลือง ชมพู
-มีกี่สายพันธุ์
-ขยายพันธุ์โดยวธีใด
-มีกี่สี


-กุหลาบเป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมจากคนทุกยุคทุกสมัยมีประวัติ ความเป็นมาปรากฏให้เห็นตั้งแต่ราว5,000ปีที่ผ่านมาจากชนชาติสุเมเรียนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณแม่น้ำไทกรีสและยูเฟตีสหรืออิรักในปัจจุบันต่อมาในราว1,700ปีก่อนคริสต์ศตวรรษที่เกาะครีตซึ่งเกาะนี้เป็นเส้นทางผ่านของการค้าขายระหว่างยุโรปกับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนท์และเมืองรีแวนต์หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับดอกกุหลาบบที่ปรากฏนี้เป็นภาพเขียนบนผนังในวังที่เรียกว่าBlue bird Frescoบนภาพเขียนนี้มีรูปกุหลาบปรากฏอยู่แต่กุหลาบที่เห็นมีรูปร่างไม่เหมือนกุหลาบจริงเพราะเป็นกุหลาบปิดด้วยทองมีกลีบดอก6กลีบแทนที่จะมี5กลีบเหมือนกุหลาบทั่วไป
-อินเตอร์เน็ต
-วิจัย

การออกแบบการเรียนการสอน

เมื่อนำคำทั้งสองคือ “การออกแบบ” และ “การเรียนการสอน” มารวมกันเป็น “การออกแบบ การเรียนการสอน” (instructional design) นักการศึกษาด้านการออกแบบการเรียนการสอนได้ให้ ความหมายไว้ดังนี้
ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ
 แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ   การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน
สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์  การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน                                                                                                                                                                                    กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1) ให้ความหมาย ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการน าหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
จากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะที่ สำคัญ คือ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่นำมาใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้เรียนและปัญหาการเรียน
การสอนเพื่อแสวงหาแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่หรือ สร้างสิ่งใหม่โดยนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนมาใช้ในการดำเนินการ เป้าหมายของการออกแบบ การเรียนการสอนคือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากความหมายข้างต้นอาจมีผู้สงสัยว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความเหมือนหรือ แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนอย่างไร หากย้อนไปดูที่ลักษณะสำคัญของการออกแบบตาม ที่โรว์แลนด์ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นในเรื่องลักษณะสำคัญของการออกแบบก็จะพบคำตอบว่า การวางแผน การเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีการออกแบบการเรียนการสอน แต่การออกแบบการเรียน     การสอนต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนเสมอ ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์


หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน

  ในการออกแบบการเรียนการสอนมีหลักการพื้นฐานที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควร คำนึงถึงเพื่อช่วยให้การออกแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพ ดังนี้ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, pp. 2-3; Smith & Ragan, 1999, p.18)  
1.       คำนึงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ การออกแบบการเรียนการสอนมี จุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มากกว่ากระบวนการสอน ผู้ออกแบบการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาผลการเรียนรู้อย่างชัดเจน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการเลือกกระบวนการเรียน การสอน กิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.        คำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับ ผู้เรียน เวลาที่ใช้ คุณภาพการสอน เจตคติและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัจจัยเหล่านี้ควร นำมาพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน
3.       รู้จักประยุกต์ใช้หลักการเรียนการสอน วิธีสอน รูปแบบการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับ ระดับวัยของผู้เรียนและเนื้อหาสาระ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมทั้ง ทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจในกิจกรรมการเรียนการสอน
4.       ใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลาย ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้การ เรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
5.       มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเรียนการสอนที่มีคุณภาพควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการวางแผน การนำไปทดลองใช้จริง  และนำผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากผู้เรียนมา ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้จะทำให้การเรียนการสอน มีคุณภาพ
6.       มีการประเมินผลครอบคลุมทั้งกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียน ทั้งนี้ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และน่าสนใจ มากขึ้น  การประเมินผลผู้เรียน ไม่ควรมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อทราบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ ควรให้ได้ข้อมูลที่นำไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
7.       องค์ประกอบการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กัน องค์ประกอบการเรียนการสอน เช่น จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ควรมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กัน และเหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการ

                       รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design model)

นักออกแบบการเรียนการสอนจะใช้รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design model) เป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่ออธิบายองค์ประกอบของการทำงาน หรือความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือทีมงานมีความเข้าใจขั้นตอนกระบวนการทำงาน และใช้ตรวจสอบการดำเนินงาน  รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นพื้นฐานของการออกแบบ การเรียนการสอนเชิงระบบที่มีผู้นิยมใช้มากที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่

รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบสามัญ (a common model of instructional  design)
รูปแบบนี้พัฒนาจากแนวคิดของเมเกอร์ (Mager, 1975, p.2) ที่ได้ตั้งคำถามพื้นฐานสำหรับ นักออกแบบการเรียนการสอนที่จะต้องหาคำตอบ ดังนี้
 1)  เรากำลังจะไปไหน (อะไรคือเป้าหมายของการเรียนการสอน)
2) เราจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (อะไรคือกลยุทธ์และสื่อกลาง)
3)  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว (เครื่องมือการประเมินเป็นอย่างไร เราจะ ประเมินและปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์การสอนอย่างไร)
จากคำถามข้างต้นนำมากำหนดเป็นกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติในกระบวนการออกแบบการเรียน การสอน เป็น ขั้นตอน ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์การเรียนการสอน เพื่อกำหนดเป้าหมายที่จะไป สิ่งที่ผู้ประเมินควร วิเคราะห์ ได้แก่ สภาพแวดล้อมหรือบริบทในการเรียนรู้ (learning contexts) ตัวผู้เรียน (learner) และ ภาระงาน (learning task) หรือสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้และควรทำได้  
ขั้นที่ 2 การออกแบบการเรียนการสอน เพื่อตอบคำถามว่าเราจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องพิจารณาถึงสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ใช้สร้าง ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงการจัดลำดับก่อนหลังของการน าเสนอกิจกรรม และการบริหารชั้นเรียน เช่น จะจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างไร เช่น การเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือ การเรียนเป็นรายบุคคล เป็นต้น ขั้นนี้จึงเป็นขั้นที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการเรียนการสอน อย่างไร
ขั้นที่ 3 การประเมินผลการเรียนการสอน เพื่อตอบคำถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าไปถึงเป้าหมายแล้ว ขั้นนี้เป็นการประเมินทั้งการเรียนการสอนและผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การประเมินผลสามารถแบ่งได้เป็น ระยะ คือการประเมินระหว่างดำเนินการหรือการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) และ การประเมินผลสรุป (summative evaluation) คือ การประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินการ การประเมิน ความก้าวหน้ามีจุดมุ่งหมายเพื่อน าข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน ส่วนการประเมินผล สรุปมีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินผลการดำเนินการและตัดสินผลการเรียนรู้ว่าได้บรรลุเป้าหมายอย่างไร
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบสามัญนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ในระดับการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในระดับโรงเรียน และระดับท้องถิ่น และการออกแบบการฝึกอบรมในภาคธุรกิจ จึงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

รูปแบบแอดดี (ADDIE model)  
การออกแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบแอดดี (ADDIE model) ประกอบด้วยกิจกรรมใน การดำเนินงาน กิจกรรม ได้แก่ การวิเคราะห์ (analyze) การออกแบบ (design) การพัฒนา (develop) การนำไปใช้ (implement) และการประเมินผล (evaluate) ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดีแล้วมี ลักษณะคล้ายกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา (analyze) การนำเสนอ แนวทางการแก้ปัญหา (design) การเตรียมการแก้ปัญหา (develop) การทดลองการแก้ปัญหา (implement) และสุดท้ายประเมินแนวทางการแก้ปัญหาว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ (evaluate) รูปแบบ ADDIE นี้ จึงเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมีผู้นิยมนำไปใช้ในการออกแบบสื่อ วัสดุการเรียนการสอน เช่น การออกแบบชุดการเรียนการสอน การออกแบบบทเรียนแบบโปรแกรม เป็นต้น ตลอดจนนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนใน ระดับมหภาค คือระบบการศึกษาในชุมชนและการออกแบบการเรียนการสอนในระดับห้องเรียนเพื่อ พัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
  ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์  กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
 1) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม
 2) การวิเคราะห์ระบบ สิ่งแวดล้อม และสภาพขององค์กร เพื่อพิจารณาถึงทรัพยากรและ อุปสรรคต่าง ๆ
 3) การศึกษาลักษณะของกลุ่มประชากร
 4) การวิเคราะห์เป้าหมายและจุดประสงค์ว่าเป็นการเรียนรู้ในลักษณะใด เช่น การเรียนรู้ เนื้อหา การเรียนรู้ทักษะ หรือการเรียนรู้ที่เป็นความต้องการเฉพาะ
             ขั้นที่ 2 การออกแบบ  กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
1) การกำหนดเป้าหมาย จุดประสงค์ที่สามารถสังเกตได้วัดได้
2) การจัดลำดับเป้าหมายและจุดประสงค์ให้ง่ายต่อการเรียนและการปฏิบัติ
 3) การวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้และการปฏิบัติ
  4) การพิจารณากลวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะกับเนื้อหา การจัดกลุ่มการทำกิจกรรม ของผู้เรียนในลักษณะต่าง ๆ ในลักษณะกลุ่มและรายบุคคล
5)  การคัดเลือกสื่อการเรียนการสอน
         ขั้นที่ 3 การพัฒนา กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้  ได้แก่
1) การสร้างสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบไว้
 2) การทดสอบ (try out) สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมาย
3) การปรับปรุงสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอน
        ขั้นที่ 4 การนำไปใช้  กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
1) การเผยแพร่สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น เช่น การติดตั้ง การซ่อมบำรุงสื่อ การจัดอบรมให้ครูรู้วิธีการใช้สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น การให้คำแนะนำและนิเทศการใช้สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอน
2) การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้ครูยอมรับสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอน
ที่สร้างขึ้นและนำสื่อไปใช้
       ขั้นที่ 5 การประเมิน กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
1) การสร้างเครื่องมือเพื่อประเมินสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนตามจุดประสงค์
ที่กำหนดไว้ 
2) การทดสอบ (try-out) สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนและเครื่องมือวัด ประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อวินิจฉัยผลการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียน และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ความสำเร็จและความล้มเหลวในการใช้โปรแกรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์
 3) การประเมินภายหลังการนำสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนไปใช้กับกลุ่ม ประชากร 

 รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนของดิคและแครี (Dick and Carey’s instructional  design model)   
ดิค แครี และแครี (Dick, Carey, & Carey, 2001, pp. 6-9) ได้เสนอขั้นตอนการออกแบบ การเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เพราะมีขั้นตอนที่แน่นอน ชัดเจน ในการออกแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบของดิคและแครี มี 10 ขั้นตอน ดังนี้
1)      ประเมินความต้องการเพื่อใช้ในการกำหนดเป้าหมาย ขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียน การสอนคือการพิจารณาเป้าหมายของการเรียนรู้ ว่าต้องการให้ผู้เรียนทำอะไรได้ภายหลังจากที่ผู้เรียน ได้รับการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้ว การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลจากการ ประเมินความต้องการของผู้เรียน ปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียน ข้อมูลจากผู้ทำงานในด้านที่เรียนมา และการวิเคราะห์บทเรียนใหม่ว่าต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในด้านใด 
2)      วิเคราะห์การเรียนการสอน ในขั้นตอนนี้ครูต้องพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ จากนั้นจึงพิจารณาว่าทักษะ ความรู้และเจตคติ ซึ่ง เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในการเรียนคืออะไร
3)       วิเคราะห์ผู้เรียนและบริบทการเรียนรู้  นอกจากการวิเคราะห์เป้าหมายในการเรียนรู้แล้ว  สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ คือผู้เรียน ได้แก่ ทักษะ ความชอบ และเจตคติของผู้เรียน และสภาพของ สิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน และการน าทักษะที่เรียนไปใช้  ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการสร้าง ยุทธศาสตร์การสอน
4)      เขียนจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ  ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์การเรียนการสอน การ วิเคราะห์ผู้เรียน และบริบทการเรียนรู้ จะนำมาใช้ในการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ซึ่งเป็น ข้อความที่ต้องเขียนอย่างชัดเจนว่าภายหลังที่ผู้เรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนต้องมี ทักษะใด เงื่อนไขในการแสดงทักษะเป็นอย่างไรและระบุเกณฑ์ของการปฏิบัติที่วัดความสำเร็จของ ผู้เรียนเป็นอย่างไร
5)       พัฒนาเครื่องมือในการประเมินผล  การประเมินความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนในบทเรียนแล้ว จะต้องเป็นการประเมินตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลต้องวัดการปฏิบัติของผู้เรียนได้
6)      พัฒนากลยุทธ์การเรียนการสอน จากข้อมูลทั้ง ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น นำไปใช้ใน การกำหนดขั้นตอนในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์ปลายทางที่ตั้งไว้  ขั้นตอน การเรียนการสอนโดยทั่วไปประกอบด้วย กิจกรรมก่อนการเรียน การน าเสนอข้อมูล การฝึกฝนและให้ ข้อมูลย้อนกลับ การท าแบบทดสอบและกิจกรรมหลังการเรียน การสร้างกลยุทธ์การเรียนการสอนอยู่บน พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ งานวิจัยด้านการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาที่เรียน และ ลักษณะของผู้เรียน ข้อมูลเหล่านี้นำมาใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และการสร้างปฏิสัมพันธ์ ของผู้เรียนในการเรียนรู้
7)      พัฒนาและเลือกสื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน ในขั้นนี้ครูจะใช้กลยุทธ์การเรียนการสอน เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และสื่อการเรียนการสอนที่รวมถึง สื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และสื่อที่ครูใช้ในการสอน เช่น ใบงาน ชุดการเรียน เครื่องฉายสไลด์ วีดีโอเทปและสื่อที่ใช้ผ่าน คอมพิวเตอร์ การที่ครูจะตัดสินใจว่าควรพัฒนาสื่อการเรียนการสอนใหม่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของ บทเรียน สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้ว และทรัพยากรที่หาได้ในโรงเรียน
8)       ออกแบบและประเมินความก้าวหน้า หมายถึงการประเมินในระหว่างการเรียนการสอน มี จุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน การประเมินความก้าวหน้า แบ่งได้ เป็น ลักษณะ คือ การประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคลแบบตัวต่อตัว การประเมินผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย และการประเมินภาคสนาม แต่ละวิธีทำให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นลำดับ
9)      การปรับปรุงการสอน ข้อมูลจากการประเมินความก้าวหน้านำมาใช้ประโยชน์ ในการ ปรับปรุงการเรียนการสอน ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ทราบอุปสรรคของผู้เรียนที่ประสบในระหว่างการเรียนซึ่ง ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถบรรลุจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้ได้ นอกจากน าข้อมูลจากการประเมินมา
ปรับปรุงการเรียนการสอนแล้ว ข้อมูลดังกล่าวยังช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ พฤติกรรมและคุณลักษณะของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีก่อนเริ่มการเรียนอีกด้วย ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุง จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
10)   การประเมินผลสรุป หมายถึงการประเมินภายหลังสิ้นสุดการเรียนการสอนซึ่งเป็นการ ประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพโดยรวมของการเรียนการสอนทั้งหมด การประเมินผลสรุปไม่ได้เป็น ส่วนหนึ่งของขั้นตอนการออกแบบการสอน ขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอนจะสิ้นสุดเมื่อได้มีการ พัฒนาปรับปรุงจากผลการประเมินความก้าวหน้า โดยทั่วไปการประเมินผลสรุปนี้มักเป็นการประเมิน จากผู้ประเมินอิสระจากภายนอก ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ออกแบบการเรียนการสอน

การวัดผลและประเมินผล

การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของ...